การบริหารเงินฉบับนักศึกษา

 

เราจะมีวิธีเอาตัวรอดทางการเงินอย่างไรในยุคสมัยที่ต้องประหยัด

  • 💰 เมื่อเราติตรองถึงคำถามนี้ เราก็ได้คำตอบกับตัวเองว่าเราจะมีวิธีเอาตัวรอดทางการเงินอย่างไรในยุคสมัยที่ต้องประหยัด ? แน่นอนเราต้องมี การวางแผน ที่ดีในการใช้เงิน ซึ่งไม่ใช่แค่การทำบันทึกรายรับรายจ่ายเหมือนที่เราเคยฝึกทำเมื่อตอนสมัยประถม เพราะเมื่อเราโตขึ้น ก็มีภาระการใช้จ่ายปลีกย่อยที่มากกว่าแค่การกินการใช้ทั่วไป

จากการที่เราทดลองวางแผนการใช้เงินและลองใส่ใจรายละเอียดในการใช้เงินของตัวเอง พบว่าเรามีเงินเก็บและรู้ที่มาที่ไปของเงินในบัญชี สามารถบริหารเงินให้ใช้ได้โดยที่ไม่มีเหตุการณ์ที่ว่า ชักหน้าไม่ถึงหลัง และมีเงินเก็บถึงแม้จะไม่มาก แต่สามารถดึงมาใช้ได้ในเวลาฉุกเฉิน ยิ่งเราเป็นนักศึกษา การวางแผนการใช้เงินยิ่งเป็นเรื่องที่จำเป็น

เคล็ดลับวางแผนใช้เงินฉบับเด็กมหาลัยของเรามีดังนี้

Advertisement

1.รวบรวมค่าใช้จ่ายต่อเดือน

รูป

  • ตัวอย่างการจดรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่อเดือน ( ภาพโดยนักเขียน )
  • 1.จดรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่อเดือน
  • ⭐ รวบรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดในหนึ่งเดือน เพื่อวางแผนการใช้เงินในเดือนต่อไป อาจจะคลาดเคลื่อนบ้าง แต่ก็ไม่มากนักเพราะค่าใช้จ่ายรายเดือนส่วนใหญ่เป็นเงินที่คงที่ เช่น ค่าห้องรวมน้ำไปของเรา 2,000 บาท ในเดือนนี้ก็จ่ายเท่านี้ในเดือนถัดไปก็จ่ายเท่าเดิม อาจจะมีบวกลบบ้างแต่ไม่ถึงร้อย จึงเป็นตัวเลขที่สามารถประมาณการได้
  •  เมื่อรวมรวมรายจ่ายทั้งหมดเรียบร้อย ให้นำมาจดไว้เป็นกันลืม ซึ่งเรามักจะจดไว้ในไอเพด แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน จากนั้นนำรายได้ที่เราจะได้รับจากเดือนนี้มาลบกับรายจ่ายว่าพอหรือไม่ ส่วนมากหลังจากที่เราทำค่าใช้จ่ายต่อหนึ่งเดือนเรียบร้อยแล้ว เดือนไหนที่ขาด เราจะวางแผนต่อว่าสามารถมีช่องทางไหนที่จะหาเงินมาเพิ่มได้หรือไม่
  • รูป
  •  การรวบรวมค่าใช้จ่ายต่อเดือน จะทำให้เราทราบรายละเอียดโดยรวมว่าในหนึ่งเดือน เรามีภาระค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ สามารถเหลือไปทาน หรือซื้อสิ่งที่เราชอบ และเหลือเก็บเท่าไหร่ เหมือนเป็นการทำบันชีรายจ่ายคร่าว ๆ ซึ่งมีผลดีต่อชีวิตเรามาก เพราะเราเป็นนักศึกษามีงานมีโปรเจคตลอด เราเลยต้องหมดเงินไปกับพวกนี้เยอะ ก่อนที่เราจะวางแผนการใช้เงินบางเดือนก็งง ๆ กับตัวเองเหมือนกันว่าเงินหายไปไหมหมด ทำไมไม่พอใช้ แต่พอมาทำก็ได้ทราบค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ค่างานค่าโปรเจค วางแผนการหาเงินเพิ่มล่วงหน้าถ้ารายรับไม่พอ

Advertisement

2.ออมวันละนิดจิตแจ่มใส

รูปปฎิเสธไม่ได้เลยว่า การออมเงิน เป็นเหมือนอีกหนึ่งหัวใจหลักของการวางแผนทางด้านการเงิน เพราะการมีเหลือดีกว่าขาด ถ้าเรามีเงินออมนอกจากที่จะสามารถเอาออกมาใช้ในยามฉุกเฉินได้แล้ว ยังสามารถนำไปลงทุนต่อยอด ให้เกิดการแตกกิ่งด้านของเงินได้อีก ซึ่งสำหรับตัวเราเมื่อมีเงินออม เราเลือกที่จะเก็บไว้ในบัญชีของธนาคารที่ให้ดอกเบี้ย ถึงแม้จะได้ไม่เยอะแต่เป็นการได้ที่ไม่เสี่ยง

  • เริ่มออมเงินอย่างไรดี ?
  •  วิธีที่หนึ่ง คือการหักเก็บจากการกดเงินหนึ่งครั้ง 20 เปอร์เซนต์ ต้องขอเกริ่นก่อนว่าเราเป็นคนที่ใช้เงินค่อนข้างมือเติบ ดังนั้นต้องมีการหักก่อนใช้ เราเลยเลือกที่จะหักเงิน 20 เปอร์เซนต์ของทุกครั้งที่กดเงิน ออกมาเป็นเงินออม ซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่เยอะมากนัก และไม่ทำให้เดือดร้อนกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
  •  วิธีที่สอง ลดการจ่าย จากบันชีรายจ่ายของเรา จะแบ่งเงินส่วนหนึ่งให้เป็นเงินที่เราสามารถนำมาซื้อของที่เราอยากได้ ซึ่งถ้าในเดือนนั้นเราไม่มีสิ่งที่อยากได้ เราก็จะเก็บเงินจำนวนนี้เป็นเงินออม และเมื่อจะซื้ออะไรก็ต้องคิดถึงข้อดีและข้อเสีย ว่าสิ่งที่เราอยากได้จำเป็นรึเปล่า เราอยากได้มันจริง ๆ หรือเปล่า ถ้าน้ำหนักการชั่งตวงของเหตุผลเอียงไปทางซื้อ เราก็จะซื้อ แต่ถ้าหนักของเหตุผลมันเอียงไปทางไม่ซื้อ เราก็จะเก็บเงินจำนวนนั้นไว้เป็นเงินเก็บ
  •  วิธีที่สาม ออมอย่างไรให้เงินงอกเงย ? ส่วนตัวของเราก็ศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนเรื่องหุ้น แต่ยังไม่กล้าลงมือเล่นสักเท่าไหร่ ดังนั้นวิธีการออมเงินที่จะทำให้เงินงอกเงยและมีความเสี่ยงน้อยที่สุดของเราคือ การเก็บเงินในระยะยาวกับธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง ดอกเบี้ยสูงของเราในที่นี้คือสูงกว่าธนาคารอื่น ๆ ถึงจะได้ไม่มากนักแต่ก็ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย

Advertisement

3.ทำบัญชีรายรับรายจ่ายในชีวิตประจำสม่ำเสมอ

รุป

  • ตัวอย่างการทำบัญชีรายรับรายจ่าย (ภาพโดยผู้เขียน)
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่าย เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยเราได้เยอะมากในเรื่องของการคำนวณการใช้เงินในแต่วัน ซึ่งสามารถโยงไปได้ถึงการคำนวณรายเดือน ได้ทราบว่าแต่ละรายจ่ายของเราเป็นไปอย่างถูกต้องและคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งการทำบัญชีรายรับรายจ่ายสามารถปลูกฝังนิสัยความเป็นระเบียบ ความคิดที่เป็นระบบให้เราได้อีกด้วย ซึ่งสามารถนำไปบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้ เช่น เราเรียนเอกภาษาอังกฤษอยู่ในตอนนี้ เราสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการจดบันทึกรายรับรายจ่ายได้

จดบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างไรให้สม่ำเสมอ ?

  • สำหรับเรา จะเลือกเวลาที่แน่ชัดสำหรับการจดบันทึกรายรับรายจ่ายคือประมาณ 3 ทุ่มของทุกวันเพราะไม่ได้ออกไปใช้เงินที่ไหนแล้ว ทำให้เป็นกิจวัต และอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้การจดจของเราไม่น่าเบื่อคือการตกแต่งรูป ใส่ตัวการ์ตูนน่ารัก ๆ ใช้ปากกาสี แต่ยังคงแบบฟอร์มเดิมเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย จะทำให้เราอยากจดบันทึกมากยิ่งขึ้น

🌈 เป็นไงบ้างกับสามเคล็ดลับฉับของเรา... การเป็นผู้ใหญ่และการคิดวางแผน สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่เป็นเด็ก เพราะเมื่อทำบ่อย ๆ เป็นกิจวัตรก็จะเกิดเป็นนิสัย ซึ่งเป็นผลดีกับตัวเรา แต่ควรเลือกที่ใช้ หลักทางสายกลาง และหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ร.9 มาใช้ เพื่อไม่ใช้มากหรือน้อยจนเกินไป การออมไม่ใช่การอด การเก็บไม่ใช่การงก และขอยืนยันว่าทั้งสามเคล็ดลับเราใช้กับตัวเองและได้ผลเลยมาบอกต่อ


อ้างอิงจากเว็ปไซต์ https://intrend.trueid.net/article/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2-trueidintrend_24504

ไม่มีความคิดเห็น:

แฟรนไชส์พิซซ่าอะโลฮ่า คืนทุนน้อย ลงทุนเร็วทันใจ

แฟรนไชส์ พิซซ่า อะโลฮ่า ลงทุนเริ่มต้น เพียง3,900บาท  ก็สามารถเป็นเจ้าของร้านพิซซ่าขนาดเล็กได้แล้ว  ซึ่งยุคนี้และเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีนัก ท...